วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

 DBMS
โดยปกติในการจัดการฐานข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์นั้นจะมีโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS (Database Management Systems) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการฐานข้อมูลนั่นเอง โปรแกรมประเภทนี้มีการผลิตออกมาหลายระบบด้วยกัน แต่ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันดีคือ ระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์หรือ RDBMS (Relational Database Management System) เช่น Oracle, Sybase, Microsoft SQL Server, Microsoft Access, MySQL เป็นต้น

ลักษณะของ DBMS 
     ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้ คือสามารถใช้งานได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากเหมือนกับการเขียนโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ ระบบดังกล่าวจะยอมให้ผู้ใช้กำหนดโครงสร้างและดูแลรักษาฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี และยังสามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่างๆตามระดับการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนด้วย เราอาจพบเห็นการใช้งาน DBMS สำหรับการจัดการฐานข้อมูลได้ในองค์กรธุรกิจโดยทั่วไป เช่น ระบบข้อมูลลูกค้า ระบบสินค้าคงคลัง ระบบงานลงทะเบียน ระบบงานธุรกรรมออนไลน์
     DBMS เป็นเหมือนตัวกลางที่ยอมให้ผู้ใช้เข้าค้นคืนข้อมูลได้โดยมีเครื่องมือสำคัยคือ ภาษาที่ใช้จัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล หรือ ภาษาคิวรี่ (query language) ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งสำหรับเรียกใช้ข้อมูล แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูล และยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางด้านฐานข้อมูล (Database application) ได้เป็นอย่างดี

ภาษาคิวรี่ (Query language) 
     เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสอบถามหรือจัดการฐานข้อมูลใน DBMS โดยภาษาประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ภาษา SQL (Structure Query language ) คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มในทศวรรษที่ 1970 มีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายกับประโยคในภาษาอังกฤษมาก ซึ่งปัจจุบันองค์กร ANSI (American National Standard Institute) ได้ประกาศให้ SQL เป็นภาษามาตรฐานสำหรับสำหรับระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System หรือ RDBMS) ซึ่งเป็นระบบ DBMS แบบที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน
     ระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ทุกระบบจะใช้คำสั่งพื้นฐานของภาษา SQL ได้เหมือนกันแต่อาจมีคำสั่งพิเศษที่แตกต่างกันบ้าง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายก็พยายามทีจะพัฒนา RDBMS ของตนเองให้มีลักษณะที่เด่นกว่าระบบอื่นโดยเพิ่มคุณสมบัติที่เกินข้อจำกัดของ ANSI ซึ่งคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เข้าไป ตัวอย่างของคำสั่ง SQL มีดังนี้ 


คำสั่ง
ผลลัพธ์
DELETEใช้สำหรับลบข้อมูลหรือลบเรคคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
INSERTใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลหรือเพิ่มเรคคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
SELECTใช้สำหรับเลือกข้อมูลหรือเลือกเรคคอร์ดใดๆที่ต้องการจากฐานข้อมูล
UPDATEใช้สำหรับแก้ไขข้อมูลหรือแก้ไขเรคคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล




อ้างอิง
ความหมายของระบบฐานข้อมูล
                ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

                ตัวอย่าง

ชื่อฐานข้อมูล
กลุ่ม ข้อมูล
บริษัท

-          พนักงาน
-          ลูกค้า
-          สินค้า
-          ใบสั่งสินค้า
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
-          นักเรียน
-          อาจารย์
-          วิชา
-          การลงทะเบียน



                ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่ 2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ  เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS



องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
                ระบบฐานข้อมูลเป็นเพียงวิธีคิดในการประมวลผลรูปแบบหนึ่งเท่านั้น แต่การใช้ฐานข้อมูลจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
1.       แอพลิเคชันฐานข้อมูล (Database Application)
2.       ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System หรือ  DBMS)
3.       ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server)
4.       ข้อมูล (Data)
5.       ผู้บริหารฐานข้อมูล ((Database Administrator หรือ DBA)

แอพพลิเคชันฐานข้อมูล
เป็นแอพพลิเคชันที่สร้างไว้ให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก ซึ่งมี
รูปแบบการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบเมนูหรือกราฟฟิก  โยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลเลยก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลได้เช่น บริการเงินสด ATM

ระบบจัดการฐานข้อมูล
                ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของ DBMS ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle, Informix, DB2 เป็นต้น

                หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล มีดังนี้
1.       กำหนดมาตรฐานข้อมูล
2.       ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลแบบต่าง ๆ
3.       ดูแล-จัดเก็บข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ
4.       จัดเรื่องการสำรอง และฟื้นสภาพแฟ้มข้อมูล
5.       จัดระเบียบแฟ้มทางกายภาพ (Physical Organization)
6.       รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในฐานข้อมูล และป้องกันไม่ใช้ข้อมูลสูญหาย
7.       บำรุงรักษาฐานข้อมูลให้เป็นอิสระจากโปรแกรมแอพพลิเคชันอื่น ๆ
8.       เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ข้อมูลในระดับ
ต่าง ๆ

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลเชิงพื้นที่

Spatial Distribution  การกระจายเชิงพื้นที่ 
เป็นการกระจายเชิงพื้นที่ การที่พื้นที่เกิดการกระจุกตัวหรือกระจายตัวในบริเวณกว้างๆ ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆว่าจะกระจายหรือกระจุกตัวในลักษณะอย่างไร เช่น การกระจายตัวของผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทย การกระตัวของประชากร การกระจายตัวของภัยแล้ง เป็นต้น


ตัวอย่างการกระจายตัวของภัยแล้ง

Spatial Differentiation ความแตกต่างเชิงพื้นที่
ในพื้นที่แต่ละที่ มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพและชีวภาพ ทรัพยากรที่มีความหลาหลายแตกต่างกัน เช่น ความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศในประเทศไทย ความแตกต่างลักษณภูมิประเทศของประเทศไทย แบบบางที่เป็นเทือกเขาสูง หรือบางพื้นที่อาจเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นต้น

ตัวอย่างการแสดงลักษณภูมิประเทศ

Spatial Diffusion การแพร่กระจายเชิงพื้นที่
หมายถึง การที่นวัตกรรมแพร่กระจายจากจุดกำเนิดไปยังบริเวณอื่นๆ สามารถศึกษาประเภท เส้นทาง และสร้างแบบจำลองกระบวนการแพร่กระจายหรือเป็นการจายพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่งอาจเป็นการอพยพการย้ายถิ่นฐานหรือมีการกระจายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ เช่น การแพร่กระจายของกลุ่มควันที่เกิดจากกาะปะทุของภูเขาไฟทั่วน่านฟ้าประเทศไอซ์แลนด์ เป็นต้น


การกระจายของกลุ่มควันการปะทุของภูเขาไฟ

Spatial Interaction ความปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่
หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆ ในสถานที่หรือพื้นที่ที่ทำกิจกรรมจะสัมพันกับพื้นที่อื่นและพื้นที่นั้นๆจะสอดคล้องกันด้วย เช่น ทะเลต้องมีปลาหลายสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในทะเลด้วยกัน ในป่ามีความหลายหลายทางระบบนิเวศในส่วนต่างๆของป่า เป็นต้น

ความหลากหลายในป่า

Spatial Temporal ช่วงเวลาในพื้นที่
ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน เช่นการแบ่งเวลาในแต่ล่ะประเทศ
การเกิดช่วงเวลาโลก

THE END

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทที่ 3 : 3.3 ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่

ลักษณะของข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
(Characteristics of GIS Information)
๓.๓ ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่ ( Spatial Characteristics )
ตัวแทนในการจัดเก็บข้อมูลในเชิงภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1) Raster or grid representation คือ จุดของเซล ที่อยู่ในแต่ละช่วงสี่เหลี่ยม (grid) โครงสร้างของ Raster ประกอบด้วยชุดของ Grid cell หรือ pixel หรือ picture element cell ข้อมูลแบบ Raster เป็นข้อมูลที่อยู่บนพิกัดรูปตารางแถวนอนและแถวตั้ง แต่ละ cell อ้างอิงโดยแถวและสดมภ์ภายใน grid cell จะมีตัวเลขหรือภาพข้อมูล Raster
ความสามารถแสดงรายละเอียดของข้อมูลราสเตอร์ขึ้นอยู่กับขนาดของเซลล์ ณ จุดพิกัดที่ประกอบขึ้นเป็นฐานข้อมูลแสดงตำแหน่งชุดนั้น ซึ่งข้อมูลประเภท Raster มีข้อได้เปรียบในการใช้ทรัพยากรระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า ช่วยให้สามารถทำการวิเคราะห์ได้รวดเร็ว Raster Data อาจแปรรูปมาจากข้อมูล Vector หรือแปลงจาก Raster ไปเป็น Vector แต่เห็นได้ว่าจะมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นระหว่างการแปรรูปข้อมูล
รูปที่ 3.2 การแปลงข้อมูล Vector เป็น Raster
ดัดแปลงจาก http://www.esri.com/
รูปที่ 3.3 ตัวอย่างข้อมูลประเภท Raster
ดัดแปลงจาก http://www.esri.com/
2) Vector representation ตัวแทนของเวกเตอร์นี้อาจแสดงด้วย จุด เส้น หรือพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดโดยจุดพิกัด ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยจุดพิกัดทางแนวราบ (X,Y) และ/หรือ แนวดิ่ง (Z) หรือ Cartesian Coordinate System ถ้าเป็นพิกัดตำแหน่งเดียวก็จะเป็นค่าของจุด ถ้าจุดพิกัดสองจุดหรือมากกว่าก็เป็นเส้น ส่วนพื้นที่นั้นจะต้องมีจุดมากกว่า 3 จุดขึ้นไป และจุดพิกัดเริ่มต้นและจุดพิกัดสุดท้าย จะต้องอยู่ตำแหน่งเดียวกัน ข้อมูลเวกเตอร์ ได้แก่ ถนน แม่น้ำ ลำคลอง ขอบเขตการปกครอง เป็นต้น
รูปที่ 3.4 ตัวอย่างข้อมูลประเภท Vector
ดัดแปลงจาก http://www.esri.com/
ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่ ในรูปแบบเวกเตอร์จะมีลักษณะและรูปแบบ (Spatial Features) ต่างๆ กันพอสรุปได้ดังนี้คือ
๓.๒.๑ รูปแบบของจุด (Point Features) เป็นลักษณะของจุดในตำแหน่งใดๆ ซึ่งจะสังเกตได้จากขนาดของจุดนั้นๆ โดยจะอธิบายถึงตำแหน่งที่ตั้งของข้อมูล เช่น ที่ตั้งของจังหวัดเป็นต้น
รูปที่ 3.5 รูปแบบของข้อมูลประเภทจุด
๓.๒.๒ รูปแบบของเส้น (Linear Features) ประกอบไปด้วยลักษณะของเส้นตรง เส้นหักมุม และเส้นโค้ง ซึ่งรูปร่างของเส้นเหล่านี้จะอธิบายถึงลักษณะต่างๆ โดยอาศัยขนาดทั้งความกว้างและความยาว เช่น ถนน หรือ แม่น้ำ เป็นต้น และในทางการทำแผนที่รวมทั้งระบบ GIS นั้น รูปแบบของเส้น หมายถึง เส้นหักมุมที่มีความกว้างเฉพาะในความยาวที่กำหนด
รูปที่ 3.6 รูปแบบของข้อมูลประเภทเส้น
๓.๒.๓ รูปแบบของพื้นที่ (Area Features) เป็นลักษณะขอบเขตพื้นที่ที่เรียกว่า โพลีกอน (Polygon) ที่อธิบายถึงขอบเขตเนื้อที่และเส้นรอบวง และข้อมูลโพลีกอนลักษณะเหล่านี้จะใช้อธิบายขอบเขตของข้อมูลต่างๆ เช่น ขอบเขตของพื้นที่ป่าไม้เป็นต้น
รูปที่ 3.7 รูปแบบของข้อมูลประเภทโพลีกอน
ข้อสังเกตุที่พบคือ ข้อมูล Vector และ Raster ทั้งสองระบบสามารถมีรูปแบบข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ (Featues) ได้ 3 รูปแบบเหมือนกันคือ Point, Line และ Polygon แต่ข้อมูลแบบ Vector นั้นจุดจะบ่งบอกเพียงพักัด x, y และ z ว่าอยู่ที่ตำแหน่งใด สูงเท่าใด จะไม่มีขนาดและทิศทางของข้อมูลประเภทจุด แต่ Raster ก็จะทราบตำแหน่ง และมีขนาดเท่ากับขนาดของ pixel เช่น จุด pixel ของดาวเทียม LANDSAT TM จะมีขนาด 30 เมตร x 30 เมตร ซึ่งแตกต่างจากข้อมูล Vector
ลักษณะข้อมูล Attribute และ Spatial นี้จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปได้ทั้งในแบบต่อเนื่อง (Continuous) และไม่ต่อเนื่อง (Discrete) ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) จะแสดงถึงเส้นระดับความสูงที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จำนวนประชากร ที่อาศัยอยู่ในแต่ละชั้นระดับความสูงนั้น จะมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง โดยจะแปรผันไปตามปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตเท่านั้นเป็นต้น รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะข้อมูลที่ปรากฎบนโลกมนุษย์และการแสดงสัญลักษณ์ในแผนที่ ในการแสดงสัญลักษณ์บนแผนที่จากลักษณะภูมิประเทศหรือวัตถุบันพื้นผิวโลกนั้นสามารถแทนด้วยรูปแบบจุด เส้นหรือพื้นที่ ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากมาตรส่วนของแผนที่ที่จะแสดงหากแผนที่มาตราส่วนใหญ่เช่น 1:4,000 อาจจะแสดงข้อมูลที่ตั้งสถานีวัดปริมาณน้ำฝนในรูปแบบโพลีกอนก็ได้ แต่หากที่มาตราส่วนเล็ก เช่น 1:50,000 สถานีวัดปริมาณน้ำฝนอาจถูกแทนด้วยจุด หรือเส้น หรือพื้นที่ขนาดเล็กได้ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังรูปที่ 3.8 และรูปที่ 3.10
รูปที่ 3.8 เปรียบเทียบตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของวัตถุบนพื้นผิวโลก ตามหลักการของการทำแผนที่ ตัวอย่างของจุด เส้น รูปปิด และพื้นผิว
Source : P. C. Muehrcke, and J.O. Muehrcke, Map Use : Reading, Analysis and Interpretation, 3rd ed., JP Publication, Madison, WI, 1992, Figure 3.18, Page 84.
เมื่อแผนที่มาตราส่วนถูกเปลี่ยนแปลงไปย่อมมีผลกระทบเกิดขึ้นกับข้อมูลที่อยู่ภายในแผนที่ในการแสดงผลด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น บ้านพักอาศัย หากอยู่ในมาตราส่วนใหญ่ในภาพถ่ายทางอากาศหากนำมานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อาจจะแทนด้วยโพลีกอน แต่ถ้าหากถ่ายมาในมาตราส่วนเล็ก อาจจะแทนด้วยข้อมูลแบบจุดได้ ดังรูป 3.9
รูปที่ 3.9 ผลกระทบการเปลี่ยนขนาดของมาตราส่วน บ้านพักที่สังเกตโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศจะปรากฏเห็นความกว้างและยาวซึ่งสามารถแสดงเป็น polygon แต่ในรูปขวามือ จะไม่ปรากฏขนาดของวัตถุจึงสามารถแสดงเป็นจุดได้
Source : Michael N. Demers, Fundamentals of Geographic Information System, John Wiley & Sons, Inc., 1997, Figure 2.2, Page 27.
รูปที่ 3.10 การเปลี่ยนแปลงมาตราส่วนและผลต่อรูปร่างวัตถุที่แสดงบนแผนที่
Source : Michael N. Demers, Fundamentals of Geographic Information System, John Wiley & Sons, Inc., 1997, Figure 3.9, Page 70.
สิ่งที่พบจากรูปที่ 3.10 จะเห็นว่าการแสดงผลที่ระดับมาตราส่วน (scale) ที่แตกต่างกันย่อมมีผลต่อความถูกต้องของข้อมูลเชิงพื้นที่ ฉะนั้นในการใช้งานมาตราส่วนแผนที่ผู้ใช้พึงต้องระวังถึงระดับของมาตราส่วนที่เหมาะสมกับงานที่จะใช้ในการวิเคราะห์เช่นกัน ยิ่งมาตราส่วนเล็กลงมาเท่าไร นั่นหมายถึงขนาดของข้อมูลยิ่งหายไปมากเท่านั้น
รูปที่ 3.11 การเปลี่ยนแปลงมาตราส่วนและผลต่อความเรียบของวัตถุ
Source : Michael N. Demers, Fundamentals of Geographic Information System, John Wiley & Sons, Inc., 1997, Figure 3.9, Page 70.
และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมาตราส่วนของข้อมูลให้เล็กลง สิ่งที่เกิดขึ้นคือข้อมูลมีความถูกต้องลดลง เช่น พื้นที่บางส่วนไม่สามารถแสดงได้ เกาะเล็กๆ ที่แสดงด้วยโพลีกอน อาจจะต้องลบออกไปเนื่องจากไม่สามารถแสดงผลข้อมูลในรูปแบบโพลีกอนได้ หรือถนนที่นำเข้าในมาตราส่วนใหญ่ก็จะสามารถลงรายละเอียดของข้อมูลแผนที่ได้มากกว่า หรือแม่น้ำสายย่อยสามารถแสดงได้ในแผนที่มาตราส่วนใหญ่ แต่ต้องละเลยในแผนที่มาตราส่วนเล็ก ดังรูปที่ 3.10 และรูปที่ 3.11
ในการนำเข้าข้อมูลสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องของข้อมูลหรือประเภทข้อมูลที่มีความต่อเนื่องเช่น ระดับความสูง หรือปริมาณน้ำฝน และข้อมูลที่ไม่มีความต่อเนื่อง เช่น จำนวนประชากร หรือรายได้ของประชากร อาจจะมีผลต่อการแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติ ถึงแม้จะใช้สัญลักษณ์ ที่เหมือนกันคือข้อมูลแบบจุด ดังรูปที่ 3.12 ซึ่งในความต่อเนื่องของข้อมูลนั้นสามารถทำให้ผู้ใช้ข้อมูลพยากรณ์หรือคาดการณ์ได้จากข้อมูลที่สร้างขึ้น
รูปที่ 3.12 ข้อมูลที่ต่อเนื่อง (Continuous data) และข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง (Discrete data) ความแตกต่างระหว่างข้อมูลทั้งสองชนิด

อ้างอิง
จากเวป GIS2ME หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มธ.
Source : Michael N. Demers, Fundamentals of Geographic Information System, John Wiley & Sons, Inc., 1997, Figure 2.3, Page 28.

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การรวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูล

                             หมายถึงการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น  และนำมาเก็บอย่างเป็นระบบ  ขั้นตอนนี้จะต้องระมัดระวังเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดี  ตรงกับคุณสมบัติของข้อมูลที่ด  ี  ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าจึงเก็บรวบรวมข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้นมาก  เช่น การเก็บรวมรวมข้อมูลพนักงานบริษัทมีการสแกนลายนิ้วมือ  รูปร่างหน้าตา  บันทึกไว้ในฐานข้อมูล  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไม่ซ้ำกัน  และสามารถนำมาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
                        การประมวลผลข้อมูล  แบ่งได้ 3 ประเภท  ดังนี้
                             1.  การประมวลผลด้วยมือ  เหมาะกับข้อมูลไม่มากและไม่ซับซ้อน  เป็นวิธีที่ใช้ในอดีต  อุปกรณ์ในการคำนวณเช่น
                                  เครื่องคิดเลข  ลูกคิด  กระดาษ  การจัดเก็บโดยการเรียงเข้าแฟ้มข้อมูล
                             2.  การประมวลผลด้วยเครื่องจักร  เหมาะกับข้อมูลจำนวนปานกลาง  ไม่จำเป็นต้องใช้ผลการคำนวณในทันทีทันใด
                                  เพราะต้องใช้เครื่องจักรและแรงงานคน
                             3.  การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์    เป็นวิธีที่เหมาะกับจำนวนข้อมูลมาก ๆ  มีการคำนวณที่ซับซ้อนยุ่งยากเพราะ                                   การคำนวณกับคอมพิวเตอร์จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว
                         การดูแลรักษาสารสนเทศ
                              เป็นขั้นตอนที่ต้องการคัดลอกข้อมูล  ถึงแม้ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์แต่การสำเนาข้อมูลเพื่อการเก็บรักษาถือว่าเป็นสิ่ง  สำคัญและจำเป็นมากเนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บอาจจะเสียหายได้โดยที่เราไม่ได้คาดคิด   การเก็บรักษาข้อมูลควรจะเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัยหรือเลือกใช้สื่อบันทึกที่มี่คุณภาพไม่เสื่อมอายุง่าย ๆ
                          ชนิดของข้อมูล
                              1.  ข้อมูลตัวเลข (Numeric)   ได้แก่ตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งนำไปใช้คำนวณได้  เช่น
                                              ตัวเลขจำนวนเต็ม  เช่น  9,10,190,9999  เป็นต้น
                                              ทศนิยม    เช่น  2.50,100.95, 50.25  เป็นต้น
                              2.  ข้อมูลตัวอักษร (Character)  ได้แก่ ตัวอักขระ  และตัวอักษรต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถนำไปคำนวณได้  แต่นำไปจัด
เรียงลำดับได้  เช่น  TECHNOLOGY , 870/83 (เลขที่บ้าน) , 90110 (รหัสไปรษณี)  เป็นต้น
                       รหัสแทนข้อมูล
                                  รหัส  แอสกี (ASCII)  เป็นรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นรหัสที่มาตรฐาน
                                  ASCII  ย่อมาจาก  American  Standard  Code  for  Information  Interchange  เป็นรหัส 8 บิด  หรือ 1 ไบต์ต่อ
หนึ่งอักขระและแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว
                                  รหัสแอสกี  กำหนดไว้เป็นเลขฐานสิบ   เมื่อไปสู่หน่วยความจำคอมพิวเตอร์จะเปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง  และผู้ใช้งานสามารถเขียนในรูปของแลขฐาน 16  ได้ด้วย
                            ตารางแสดงรหัสแอสกีที่ใช้แทนอักขระต่าง ๆ
หลังจากชมภาพยนตร์เรื่อง ลัดดาแลนด์ สิ่งแรกที่ผุดเข้ามาในหัว คือคำพูดที่ชวนคิดที่ว่า บ้านคือ วิมานของเรา จริง?กรณีนี้คงจะไม่จริงเสมอไปแล้วล่ะ เพราะในหนังได้พบความทรมานอันหลีกเลี่ยงไม่ได้  


ทำไมจึงหลีกเลี่ยงผีไม่ได้ เนื่องจาก ลัดดาแลนด์ หนังสยองขวัญลของค่าย จีทีเอช น่าติดตามทุกฉาก เล่นเอาผู้ชมต้องเอาใจช่วยครอบครัวของ ธีร์ (สหรัถ สังคปรีชา) อย่างใจจดใจจ่อ เกร็งจนแทบจะจิกแขนคนดูข้างๆ ทะลุ นั้นมาจาก การวางพล็อตเรื่องอย่างละเอียด กฎเกณฑ์จำกัดความจำเป็นให้กับครอบครัวพระเอกต้องพบกับผีเพื่อนบ้านบ่อยครั้งนั้น มีเหตุผลน่าเชื่อถือมารองรับเสมอ ไม่ใช่เอะอะก็เอาแต่ลงมาจากฝ้าเพดานบ้าน หรือไม่ก็ไปมุดใต้เตียงที่ฝุ่นเขรอะ แต่เสื้อก็ยังขาวสะอาด   หนังผีมักจะมีจุดขายตรงการสร้างสรรค์การปรากฎตัวของวิญญาณให้ดูแหวกแปลกตาที่สุด กระทั่งสุดท้ายมองข้ามความมีที่มาที่ไป ต่างจาก ลัดดาแลนด์ ที่เน้นความเข้มข้นของบทภาพยนตร์  ทำให้ผู้ชมเข้าถึง สัมผัสได้ อินจัดจนต้องลุ้นตัวโก่งตัวงอไปกับชะตากรรมอันลำเค็ญของตัวละครหลัก นั่นเป็นเสน่ห์ที่ส่งให้ ลัดดาแลนด์  ออกมาจากหมวดหนังผีทั่วไป ที่ดูแล้วจบไปไร้การจดจำ 

เรื่องราวของ ธีร์ ที่ฝันอยากจะมีบ้าน แต่ไม่มีปัญญาซื้อ กลายเป็นปมด้อยที่ทำให้เขารู้สึกผิดต่อทุกคนในครอบครัวป่าน (ปิยธิดา วรมุสิก)–ภรรยาที่แม่ยายพร่ำกรอกหูอยู่ตลอดเวลาว่าเขากระจอกเกินไปสำหรับเธอ แนน (ปันปัน–สุทัตตา อุดมศิลป์)-ลูกสาววัยรุ่นที่ธีร์ ไม่เคยได้อยู่ร่วมชายคาเพราะส่งไปให้แม่ยายช่วยเลี้ยงดู นัท (น้องก๊อบแก๊บ-อธิพิชญ์ ชุติวัฒน์ขจรชัย)–ลูกชายวัย 5 ขวบที่ยังเดียงสาพอจะเห็นพ่ออย่างเขาเป็นฮีโร่



นี่ถือเป็นผลงานการขึ้นหิ้งของผู้กำกับ จิม-โสภณ ศักดาพิสิษฏ์ ที่มีพัฒนาการมากขึ้นจากเรื่องที่แล้ว (โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต) ในเกือบทุกด้าน ทั้งตัวบท ฝีมือการกำกับ มุมกล้อง การแสดง รวมถึงความบันเทิงที่มอบให้ผู้ชมอย่างเต็มเปี่ยม เรียกได้ว่า ลัดดาแลนด์ เทียบชั้นหนังผีไทยอย่าง นางนาก หรือ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ได้อย่างไม่อายใคร