วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลเชิงพื้นที่

Spatial Distribution  การกระจายเชิงพื้นที่ 
เป็นการกระจายเชิงพื้นที่ การที่พื้นที่เกิดการกระจุกตัวหรือกระจายตัวในบริเวณกว้างๆ ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆว่าจะกระจายหรือกระจุกตัวในลักษณะอย่างไร เช่น การกระจายตัวของผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทย การกระตัวของประชากร การกระจายตัวของภัยแล้ง เป็นต้น


ตัวอย่างการกระจายตัวของภัยแล้ง

Spatial Differentiation ความแตกต่างเชิงพื้นที่
ในพื้นที่แต่ละที่ มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพและชีวภาพ ทรัพยากรที่มีความหลาหลายแตกต่างกัน เช่น ความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศในประเทศไทย ความแตกต่างลักษณภูมิประเทศของประเทศไทย แบบบางที่เป็นเทือกเขาสูง หรือบางพื้นที่อาจเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นต้น

ตัวอย่างการแสดงลักษณภูมิประเทศ

Spatial Diffusion การแพร่กระจายเชิงพื้นที่
หมายถึง การที่นวัตกรรมแพร่กระจายจากจุดกำเนิดไปยังบริเวณอื่นๆ สามารถศึกษาประเภท เส้นทาง และสร้างแบบจำลองกระบวนการแพร่กระจายหรือเป็นการจายพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่งอาจเป็นการอพยพการย้ายถิ่นฐานหรือมีการกระจายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ เช่น การแพร่กระจายของกลุ่มควันที่เกิดจากกาะปะทุของภูเขาไฟทั่วน่านฟ้าประเทศไอซ์แลนด์ เป็นต้น


การกระจายของกลุ่มควันการปะทุของภูเขาไฟ

Spatial Interaction ความปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่
หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆ ในสถานที่หรือพื้นที่ที่ทำกิจกรรมจะสัมพันกับพื้นที่อื่นและพื้นที่นั้นๆจะสอดคล้องกันด้วย เช่น ทะเลต้องมีปลาหลายสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในทะเลด้วยกัน ในป่ามีความหลายหลายทางระบบนิเวศในส่วนต่างๆของป่า เป็นต้น

ความหลากหลายในป่า

Spatial Temporal ช่วงเวลาในพื้นที่
ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน เช่นการแบ่งเวลาในแต่ล่ะประเทศ
การเกิดช่วงเวลาโลก

THE END

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น